สาเหตุของการเกิดสงคราม
ประเทศที่เข้าร่วมสงคราม
บทบาทของไทยในสงคราม
ผลกระทบหลังสงคราม

 

สาเหตุ

  1. ลัทธิชาตินิยม เกิดจากการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
  2. ลัทธิจักรวรรดินิยม ความสำเร็จของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ชาติมหาอำนาจใจยุโรปแข่งขันกันขยายดินแดนอาณานิคม เพื่อแสวงหาวัตถุดิบและตลาดระบายสินค้า
  3. ลัทธินิยมทางทหาร หรือการแข่งขันด้านแสนยานุภาพทางทหาร ประเทศมหาอำนาจพยายามแข่งขันกันสะสมอาวุธและความเข้มแข็งทางทหาร เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ชาติของตน ทำให้เกิดความหวาดระแวงกัน
  4. การขยายตัวของระบบพันธมิตรทางทหาร ความหวาดระแวงตึงเครียดในปัญหาความขัดแย้งต่างๆทำให้ชาติมหาอำนาจของยุโรปต้องทำสัญญาผนึกกำลังกันเป็นพันธมิตรทางทหาร โดยแยกเป็น 2 ค่ายพร้อมที่จะใช้สงครามตัดสินปัญหา

ชนวนสงครามโลกครั้งที่ 1
เกิดกรณีลอบปลงพระชนม์เจ้าชายฟรานซีส เฟอร์ดินานด์ องค์รัชทายาทของจักรวรรดิออสเตรีย- ฮังการี ขณะเสด็จประพาสนครหลวงของแคว้นบอสเนีย เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ 1914 โดยคนร้ายที่ถือสัญชาติเซอร์เบีย ทำให้รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการี ปักใจเชื่อว่ารัฐบาลเซอร์เบียอยู่เบื้องหลัง สงครามขยายตัวออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ได้แก่ ออสเตรีย-ฮังการี เยอรมนี ตุรกี และบัลแกเรีย อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศที่สำคัญได้แก่ สหภาพโซเวียต ฝรั่งเศส อังกฤษ
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสงครามที่เริ่มและมีศูนย์กลางอยู่ในทวีปยุโรป ชนวนเหตุสำคัญของความขัดแย้งเริ่มจาก เมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เกิดการลอบปลงพระชนม์ อาร์ช ดยุก ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ขณะเสด็จเยือนกรุงซาราเจโว เมืองหลวงของแคว้นบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา โดย กัฟรีโล ปรินซีป นักชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ออสเตรีย-ฮังการี เชื่อว่า เซอร์เบียอยู่เบื้องหลังในการกระทำดังกล่าว จึงยื่นคำขาดต่อราชอาณาจักรเซอร์เบีย เป็นข้อเรียกร้อง 10 ประการ ซึ่งมีเจตนาทำให้ยอมรับไม่ได้และจุดชนวนสงครามขึ้น เมื่อเซอร์เบียยอมตกลงในข้อเรียกร้องเพียง 8 ข้อ ออสเตรีย-ฮังการี จึงประกาศสงครามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914

ทั้งนี้ ตัวเร่งไฟสงครามให้โหมกระหน่ำมาจากปมปัญหาเรื่องสมดุลอำนาจที่สั่งสมมานานของหลายประเทศในภาคพื้นยุโรป ทั้งเรื่องการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การแย่งชิงอาณานิคมและระบบภาคีพันธมิตรที่แบ่งเป็น 2 ฝ่ายมหาอำนาจก่อนหน้านี้ โดยแยกเป็น ฝ่ายสัญญาไตรภาคี ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลี และฝ่ายสัญญาไตรพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ซึ่งชาติพันธมิตรเหล่านี้ รวมถึงชาติอาณานิคมของแต่ละประเทศ ต่างถูกดึงให้เข้าร่วมในสงคราม ทำให้ความขัดแย้งลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

สงครามเปิดฉากในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 วันเดียวกับการประกาศสงคราม ประเทศออสเตรีย-ฮังการี ได้เปิดฉากรุกรานเซอร์เบียเป็นครั้งแรก ส่วนเยอรมันที่อยู่ฝ่ายเดียวกัน ก็เปิดฉากรุกรานเบลเยียม เป็นจุดเริ่มของสงครามที่ยากเกินจะยับยั้งอีกต่อไป

สาเหตุระยะยาวของสงครามรวมถึงนโยบายต่างประเทศแบบจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจยุโรปทั้งหลาย อย่างจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิอังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี ส่วนการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 โดยกัฟรีโล ปรินซีป นักชาตินิยมยูโกสลาฟ เป็นชนวนเหตุใกล้ชิดของสงคราม ออสเตรีย-ฮังการีจึงยื่นคำขาดฮับสบูร์กต่อราชอาณาจักรเซอร์เบีย พันธมิตรทั้งหลายซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อหลายทศวรรษก่อนถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ มหาอำนาจทั้งหลายจึงอยู่ในภาวะสงคราม และความขัดแย้งลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วผ่านอาณานิคมต่าง ๆ
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของทวีปยุโรป โดยเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป การสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการปฏิวัติรัสเซีย การพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมนีในสงครามครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)

เว็บเพจผลงานนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 กลุ่มที่ 7

โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง เว็บเพจนี้ใช้เพื่อนำเสนอในการเรียนสร้างเว็บเพจ

>