บทบาทของไทยกับการเข้าร่วมสงคราม
นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สังคมไทยได้ค่อยๆ ก้าวสู่ความเป็นอารยะตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญที่ปรากฏอยู่ในรูปของวัตถุไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง รถไฟ ไฟฟ้า ประปา เขื่อนชลประทาน โรงพยาบาล ระบบการสื่อสารคมนาคม ที่ทำการรัฐบาล ห้างร้าน และตึกรามบ้านช่อง ตลอดจนเครื่องใช้อันทันสมัย อันมีเจ้านายและชนชั้นสูงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่วนชาวบ้านสามัญชนเป็นผู้ตาม ในแง่การเมือง อิทธิพลของเจ้านายและขุนนางยุคเก่าในการนำสังคมไทยเริ่งลดลงอย่างเห็นได้ชัดภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะราษฎร์ได้เข้ามามีบทบาทสูงในการนำสังคม และบุคคลหนึ่งที่เป็นผู้นำฝ่ายทหารของคณะราษฎร์ และเป็นหนึ่งในผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองในฝ่ายทหาร คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้ขึ้นสู่อำนาจและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี( พ.ศ. 2481-2487 ) อันเป็นช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในยุคนี้ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยให้เป็นสากลและสอดคล้องกับความเป็นไปของโลก โดยได้มีบัญญัติเรียกว่า “ รัฐนิยม “ ซึ่งแสดงนโยบายของประเทศว่าต้องการให้ประชาชนคนไทยรักหวงแหนและภูมิใจในความเป็นไทย เช่น ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบตามที่กำหนด ห้ามสวมกางเกงแพร ให้ทักทายกันด้วยคำว่า “ สวัสดี “ ห้ามกินหมาก ให้สวมหมวกทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ใช้คำขวัญปลุกใจทุกเช้าก่อนเรียน การยกเลิกบรรดาศักดิ์โดยให้ใช้เพียงชื่อ สกุล เหมือนคนทั่วไป การเคารพธงชาติ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการปลุกระดมความรู้สึกชาตินิยมอย่างรุนแรงด้วย
สภาพสังคมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ ประชาชนขึ้นมาเป็นเจ้าของประเทศและมีบทบาทในการปกครองประเทศด้วยกระบวนการกฎหมายรัฐธรรมนูญ ชนชั้นกลาง พวกพ่อค้า ปัญญาชน ขึ้นมามีบทบาทในสังคมแต่ผู้กุมอำนาจยังคงได้แก่ทหารและข้าราชการ นายทุนเติบโตจากการค้าและอุตสาหกรรมอย่าง
รวดเร็วพร้อมทั้งมีอิทธิพลและบทบาทจนได้เปรียบในสังคม เกิดช่องว่างในสังคมทำให้ชาวไร่ ชาวนา และกรรมกรมีฐานะและชีวิตอยู่กับความยากจนและถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคม
สถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มขึ้นในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 เมื่อคณะนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รวมทั้งประชาชนร่วมกันเดินขบวนเรียกร้องรัฐบาลเรียกเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศสจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 เช่น เสียมราฐ พระตะบอง จำปาศักดิ์เป็นต้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ส่งทหารข้ามพรมแดนเข้าไปยึดดินแดนคืนทันที ท่ามกลางกระแสชาตินิยมอย่างหนัก เพลงปลุกใจในเวลานั้นได้ถูกเปิดอย่างต่อเนื่อง เช่น เพลงข้ามโขง เพลงจำปาศักดิ์ เพลงเสียมราฐ เป็นต้น
เกิดการยิงต่อสู้กันอย่างหนักระหว่างทหารไทยกับทหารฝรั่งเศส ในบางช่วงทหารไทยสามารถจับทหารโมร็อกโกทหารประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสมาได้ และได้นำเชลยศึกเหล่านั้นมาแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้ดูที่สวนสัตว์เขาดินวนา โดยการต่อสู้ที่เป็นที่กล่าวขานมากที่สุดคือ ยุทธนาวีที่เกาะช้าง จ.ตราดเมื่อเรือหลวงธนบุรีของกองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้กับเรือรบลามอตต์ปิเกต์ของฝรั่งเศส เรือหลวงธนบุรีเสียเปรียบเรือรบลามอตต์ปิเกต์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีหรือกำลังพล ที่สุดเรือหลวงธนบุรีโดยการบังคับบัญชาของ นาวาโทหลวงพร้อมวีระพันธ์ก็ได้ถูกยิงจมลง นายทหารบนเรือเสียชีวิตรวม 36 นาย รวมทั้งตัวหลวงพร้อมวีระพันธ์เองด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถสร้างความเสียหายให้แก่เรือรบลามอตต์ปิเกต์ จนฝ่ายฝรั่งเศสไม่กล้าส่งเรือรบมาลาดตระเวนในน่านน้ำอ่าวไทยอีกเลย เหตุการณ์นี้ได้ถูกเรียกในเวลาต่อมาว่า ยุทธนาวีเกาะช้าง
ในส่วนของกองทัพอากาศไทย เครื่องบินรบของฝ่ายไทยและฝรั่งเศสได้ปะทะกันในสมรภูมิภาคตะวันออก การต่อสู้ที่ได้รับการกล่าวขานอย่างที่สุด คือ ในวันที่ 10 ธันวาคม เรืออากาศโทศานิต นวลมณี ได้นำเครื่องขับไล่แบบคอร์แซร์ เข้าโจมตีทิ้งระเบิดเมืองเวียงจันทน์ในระยะต่ำ เครื่องบินของเรืออากาศโทศานิตได้ถูกกระสุนปืนต่อสู้อากาศของฝ่ายฝรั่งเศส ทำให้เกิดไฟลุกท่วมเครื่องบิน นักบินพลปืนหลังได้เสียชีวิตทันทีเนื่องจากถูกกระสุน เรืออากากาศโทศานิตได้กระโดดร่มลงในฝั่งไทย แต่ได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากถูกไฟคลอกและกระสุนทะลุหัวเข่า ถูกส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่กรุงเทพมหานคร และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา
การต่อสู้ยังคงดำเนินไปถึงปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2484 ไม่มีทีท่าว่าจะสงบ ทางญี่ปุ่นแสดงเจตจำนงเข้ามาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง เหตุการณ์ได้จบลงโดยที่ฝรั่งเศสได้มอบดินแดนบางส่วนคืนให้แก่ไทย ฝ่ายไทยจึงจัดการปกครองเป็น 4 จังหวัด คือ จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดพระตะบอง จังหวัดนครจัมปาศักดิ์และจังหวัดลานช้าง
เหตุการณ์การสู้รบในครั้งนี้ได้ถูกเรียกว่า กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน และต่อมาได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย
ในเวลานั้น ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากได้เข้าสู่พระนครเต็มไปหมด และได้ใช้สถานที่ทางราชการบางแห่งเป็นที่ทำการ รัฐบาลได้ประกาศให้ญี่ปุ่นเป็น มหามิตร ประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนกับทางญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ การกระทำใด ๆ ที่เป็นปรปักษ์มีโทษถึงประหารชีวิต แต่ก็มีประชาชนบางส่วนลับหลังได้เรียกญี่ปุ่นอย่างดูถูกว่า "ไอ้ยุ่น" หรือ "หมามิตร" เป็นต้น
ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2485 รัฐบาลไทยก็ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษสหรัฐอเมริกา อย่างเต็มตัว ผลของการประกาศสงครามทำให้ไทยได้ดินแดนในแหลมมลายู ที่เสียให้อังกฤษกลับคืนมา (จังหวัดมาลัย)ซึ่งในขณะเดียวกัน ทางสหรัฐอเมริกาม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ไม่อาจยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นที่นั่น ในวันที่ 12 ธันวาคม พร้อม ๆ กับขบวนการเสรีไทยในที่อื่น ๆ ก็ได้เกิดขึ้น และเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาลไทยก็ได้สั่นคลอน เมื่อคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น ปรีดี พนมยงค์ ทวี บุณยเกตุ ควง อภัยวงศ์ ได้แยกตัวออกมา เนื่องจากไม่อาจรับกับการกระทำของรัฐบาลเช่นเดียวกัน และกลายมาเป็นขบวนการเสรีไทยในประเทศ
ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2485 ประเทศไทยได้เซ็นสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่นจึงมาตั้งทัพในไทยฐานะพันธมิตร อีกทั้งในเดือนกรกฎาคมนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นฮิเดะกิ โทโจได้เดินทางมาเยือนกรุงเทพและได้เจรจาวางแผนและแบ่งเขตการรบกับไทย นัยว่าเพื่อหวังจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยตามที่ตกลงไว้ในสนธิสัญญา ใน
การเจรจาสรุปได้ว่ากองทัพไทยต้องถูกส่งไปรบที่เชียงตุงโดยก่อตั้งกองพลพายัพเพื่อรบกับอังกฤษและสาธารณรัฐจีน ตามข้อตกลงแบ่งเขตการรบที่ทำไว้กับญี่ปุ่นว่าตั้งแต่รัฐกะยาห์จนถึงครึ่งใต้ของเมืองมัณฑะเลย์โดยยึดเส้นแบ่งเขตใต้ของเมืองเป็นของไทย จนถึงแม่น้ำโขงเป็นเขตการรบของไทย ฝ่ายทางรัฐบาลไทยต้องรบเพื่อรักษาอาวุธยุทธภัณฑ์ไว้ไม่ให้ขบวนการเสรีไทยลักลอบขโมยไปจนหมด กองทัพไทยยังสามารถขออาวุธของญี่ปุ่นมาเพิ่มเติมได้ด้วย ส่วนทางญี่ปุ่นก็ได้สร้างทางรถไฟสายมรณะเพื่อเข้าโจมตีย่างกุ้งอีกทางหนึ่ง
ประเทศไทยก่อตั่งสหรัฐไทยเดิมโดยรวมดินแดนที่ส่งกองทัพเข้ายึดดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรจำนวนมากได้แก่แคว้นรัฐฉาน (เชียงตุง เมืองพาน), รัฐกะยา รวมไปถึงเมืองตองยีและครึ่งใต้ของเมืองมัณฑะเลย์ในเขตประเทศพม่าอีกด้วย ผลจากสงครามทำให้สถานการณ์รุนแรงภายในของไทยถึงขนาดมีการปลุกระดมให้เกิดลัทธิคลั่งชาติอย่างรุนแรง ถึงปลูกฝังความคิดชาตินิยม จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยังได้เริ่มกำหนดนโยบายรัฐศาสนาขึ้นกำหนดให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ พูดถึงความยิ่งใหญ่ของชาติ ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางอารยธรรมเหนือชาติใดๆ ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้มีเป้าหมายขจัดอิทธิพลของชาติตะวันตกร่วมกับจักรวรรดิญี่ปุ่น อีกทั้งยังได้มีการปลุกรในอดีต
หลังจากนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดในพระนคร การทิ้งระเบิดครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2485 สถานการณ์โดยทั่วไปในพระนครนั้น ประชาชนได้รับคำสั่งให้ทำการ พรางไฟ คือการใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าขาวม้าปิดบังแสงไฟในบ้าน ให้เหลือเพียงแสงสลัว ๆ เพื่อป้องกันมิให้เครื่องบินของฝ่ายข้าศึกมาทิ้งระเบิดลงได้ ส่วนสถานการณ์โดยรวมของสงคราม ฝ่ายอักษะมีทีท่าว่าจะได้รับชัยชนะในสมรภูมิยุโรปและแอฟริกาตอนเหนือ ส่วนในเอเชียญี่ปุ่นก็สามารถยึดมลายูและสิงคโปร์
ะดมการรักชาติในด้านการศึกษาแก่เยาวชน เพื่อจะได้ได้ร่วมกันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติให้ยิ่งใหญ่ทัดเทียมกับสมัยเมืองพระมหานครสุโขทัยและอยุธยาได้แล้ว
สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตของญี่ปุ่นทรงประกาศยอมแพ้และมีพระบรมราชโองการให้ทหารญี่ปุ่นทั่วโลกวางอาวุธ รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ทางญี่ปุ่นก็ได้ทำพิธียอมแพ้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่อ่าวโตเกียว เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรจึงเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้ง พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งการเสด็จนิวัติประเทศในครั้งนี้ ทางราชการได้จัดพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ
จากการยอมแพ้ครั้งนี้ส่งผลให้ผู้นำประเทศหลายประเทศที่เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ตกเป็นอาชญากรสงครามทั้งสิ้น ควง อภัยวงศ์ ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งจะต้องถูกแขวนคอในข้อหาอาชญากรสงคราม นายควงได้เร่งรีบออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมและออกกฎหมายที่เรียกประกาศสันติภาพ มีผลให้การประกาศสงครามของไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ โดยอ้างเหตุว่าขณะที่ประกาศสงครามนั้นหนึ่งในผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ ปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้ลงนามด้วย ซึ่งนับว่าเป็นประเทศเดียวที่เป็นรัฐบาลได้เข้าทำการบร่วมกับฝ่ายอักษะจนแพ้สงครามแต่สามารถพลิกกลับมาให้มีสถานะไม่ใช่ประเทศแพ้สงครามได้ (ทั้งนี้ งานของขบวนการเสรีไทยเป็นเหตุผลสนับสนุนการอ้างของไทยเช่นนี้ด้วยส่วนหนึ่ง) แต่สภาพเศรษฐกิจโดยร่วมขณะนั้นย่ำแย่ ประกอบกับประเทศสัมพันธมิตรบางประเทศอย่างอังกฤษไม่ยอมรับในสถานภาพนี้ของไทย และเรียกร้องสิทธิบางประการกับไทยเสมือนประเทศที่แพ้สงครามอื่น ๆ ด้วย ซึ่งต่อมา ควง อภัยวงศ์ จึงได้ลาออก และทวี บุณยเกตุ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว เพื่อรอการกลับมาของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชเอกอัครราชทูตที่สหรัฐอเมริกาและหัวหน้าขบวนการเสรีไทยที่นั่น เพื่อมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำร้องขอของนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้สำเร็จราชการในรัชกาลที่ 8
ม.ร.ว.เสนีย์ ออกเดินทางจากสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2488 ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 กันยายน และได้ดำเนินการเจรจากับอังกฤษและตกลงข้อสัญญาบางประการกับทางอังกฤษ ไทยได้ตกลงทำสัญญาที่เรียกว่า สัญญาความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อเลิกสถานะสงคราม ระหว่างไทยกับสัมพันธมิตรประกอบด้วยสัญญา 24 ข้อ[2] จนแล้วเสร็จและได้ทำบันทึกอย่างเป็นทางการลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 เป็นอันเสร็จภารกิจและ ม.ร.ว.เสนีย์ ก็ได้ยื่นใบลาออกในวันนั้นทันที แต่ต้องอยู่รักษาการไปจนกระทั่งสิ้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2489
ระหว่างนี้ได้มีการออกกฎหมายอาชญากรสงครามมาเพื่อให้ผู้กระทำผิดต้องขึ้นศาลไทย จอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมทั้งอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาระดับสูงหลายคน เช่น หลวงวิจิตรวาทการ, พลเอกมังกร พรหมโยธี เป็นต้น จึงถูกจับกุมและถูกดำเนินคดีในประเทศไทย และต่อมาไม่ต้องรับโทษเพราะศาลฎีกาวินิจฉัยว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังและอ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ระบุเรื่องสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายอาชญากรสงคราม ทั้งนี้มีผู้วิจารณ์ว่าการออกกฎหมายอาชญากรสงครามก็เพื่อไม่ให้คนไทยถูกส่งไปดำเนินคดีในต่างประเทศอันจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศและทำให้เสียเปรียบในการเจรจาหลังสงคราม หรือบางแหล่งก็ว่าเป็นการช่วยเหลือจอมพล ป. ให้พ้นโทษ ในขณะที่อาชญากรสงครามของประเทศอื่นๆ ถูกจับกุมและประหารชีวิตในที่สุด