เนื้อหา

 

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ชนวนของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดจาด การลอบปลงพระชนม์อาร์คดุยค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทของบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1914 โดยกัฟรีโล ปรินซีป ชาวเซิร์บบอสเนีย ซึ่งเป็นสมาชิกของแก๊งมือมืด และการแก้แค้นของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต่อราชอาณาจักรเซอร์เบียก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในทวีปยุโรป ภายในหนึ่งเดือน ทวีปยุโรปส่วนมากก็อยู่ในสภาวะสงคราม แต่ความขัดแย้งที่มีมาตั้งแต่การรวมชาติเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1871 นั้นทำให้ยุโรปต้องอยู่ในสมดุลแห่งอำนาจซึ่งยากแก่การรักษา การแข่งขันทางทหาร อุตสาหกรรมและการแย่งชิงดินแดนก็ทำให้วิกฤตสุกงอมจนกระทั่งปะทุออกมาเป็นสงคราม

ภาพกัฟรีโล ปรินซีป ถูกจับกุลมหลังลอบปลงพระชนม์
อาร์คดุยค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์

 

สาเหตุหลักของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

1. ลัทธิชาตินิยม
ภายหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ฝ่ายปรัสเซียมีผู้นำที่เข้มแข็งอย่างบิสมาร์กเป็นผู้วางแผนการรบอย่างชาญฉลาด เอาชนะฝรั่งเศสได้ทำให้เยอรมันสามารถรวมตัวกันและสถาปนาจักรวรรดิเยอรมัน
เป็นมหาอำนาจที่สำคัญในยุโรป ฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ต้องยอมเสียแคว้นอัลซาซ-ลอแรนให้แก่เยอรมนี และเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ เป็นผลให้อิตาลีรวมชาติได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เกิดลัทธิชาตินิยม ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ

2. การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคม
เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรม การแข่งขันเป็นแบบการค้าเสรี เมื่อมีการแข่งขันสูงขึ้น จึงเริ่มใช้กำลังทางทหารเข้ายึดครองดินแดนที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและตั้งกำแพงภาษีให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันมิให้สินค้าจากประเทศที่เป็นคู่แข่งมาตีตลาดในประเทศบริวารของตน เป็นเครื่องมือวัดความยิ่งใหญ่ของประเทศ

3. มหาอำนาจแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย
ฝ่ายหนึ่งประกอบด้วยเยอรมนี รัสเซียและออสเตรีย-ฮังการี ได้ทำสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี ภายหลังรัสเซียได้ถอนตัวไปและอิตาลีเข้ามา กลุ่มนี้จึงประกอบด้วยเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี
อีกฝ่ายหนึ่งฝรั่งเศสกับรัสเซีย ได้ทำสนธิสัญญาพันธไมตรีฝรั่งเศส-รัสเซีย ต่อมาอังกฤษได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรจึงเกิดเป็นกลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี
มหาอำนาจทั้ง 2 กลุ่ม พยายามที่จะโน้มน้าวให้ประเทศอื่นๆเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรของตน ต่างฝ่ายต่างก็ไม่ยินยอมกันแข่งกันสะสมกำลังอาวุธ เมื่อเกิดข้อขัดแย้งที่รุนแรง จึงหาทางออกด้วยการทำสงคราม

4. ความไม่มั่นคงทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน
คาบสมุทรบอลข่านอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ประกอบด้วยชุมชนที่มีความแตกต่างกันทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ กรีก เติร์ก เมื่อชนเผ่าสลาฟภายใต้การนำของแคว้นเซอร์เบีย ได้เอกราชและแยกตัวออกจากจักรวรรดิออตโตมันเติร์ก ต่อมาเซอร์เบีย บัลแกเรีย และกรีซได้รวมตัวกัน ทำสงครามกับตุรกีและสามารถยึดครองดินแดนของตุรกีในยุโรปได้ แต่หลังจากชนะสงครามก็เกิดความขัดแย้งกันเอง เซอร์เบียจึงกลายเป็นแคว้นที่มีอิทธิพลมากจนเป็นที่เกรงกลัวของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี 
ชนวนของสงครามเกิดขึ้นเมื่ออาร์ชดุ๊กฟรานซิส เฟอร์ดินานด์รัชทายาทของออสเตรีย-ฮังการี ถูกลอบปลงพระชนม์ โดยฝีมือของกัฟริโล ปรินซิปชาวบอสเนีย ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย โดยมีรัสเซียเข้ามาช่วยเซอร์เบีย เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซีย ฝรั่งเศส และอังกฤษเข้าร่วมมือกับรัสเซีย
ในสงครามครั้งนี้ เรียกฝ่ายที่อยู่ข้างเซอร์เบีย รัสเซีย ฝรั่งเศส และอังกฤษว่า ฝ่ายสัมพันธมิตร และเรียกฝ่ายที่อยู่ข้างออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนีว่า ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (สำหรับอิตาลี ตอนแรกประกาศตนเป็นกลาง แต่ตอนหลังได้ไปเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร)